พูดถึงพลังงานหมุนเวียนจากธรรมชาติมักชวนให้นึกถึงพลังงานแสงแดด พลังงานลม พลังงานความร้อนใต้พิภพ ใครจะรู้ว่าน้ำฝนที่ตกลงมาจากฟ้าก็นำมาผลิตกระแสไฟฟ้าได้เหมือนกัน
นักวิจัยจากสถาบันวิจัยซีอีเอประเทศฝรั่งเศส คิดค้นระบบผลิตไฟฟ้าโดยอาศัยแรงสั่นสะเทือนของน้ำฝน ที่กระทบแผ่นพลาสติกพีวีดีเอฟที่ฝังอิเล็กโทรด ทำหน้าที่แปลงความสั่นสะเทือนนั้นเป็นพลังงาน
หัวใจสำคัญของระบบไฟฟ้าพลังฝนคือ พลาสติกพีวีดีเอฟ (โพลีไวนิลไอดีน ไดฟลูโอไรด์) ชนิดเดียวกับที่ใช้ทำท่อ ฟิล์ม ฉนวนสายไฟ ไปจนถึงสีคุณภาพสูงสำหรับทาโลหะ พลาสติกพีวีดีเอฟมีคุณสมบัติพิเศษที่เรียกว่า เพียโซอิเล็กทริก สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจากการคลายรูปเชิงกล ทีมวิจัยทดลองนำอิเล็กโทรดฝังเข้าไปในแผ่นพีวีดีเอฟที่หนาเพียง 25 ไมโครเมตร แล้วหยดน้ำที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 1-5 มิลลิเมตรลงไปบนแผ่นพลาสติก
เมื่อน้ำกระทบแผ่นพลาสติกทำให้เกิดการสั่นสะเทือนและเกิดเป็นประจุอิเล็กโทรดจะเก็บประจุเหล่านั้นไปใช้เป็นพลังงาน ทีมวิจัยพบว่า ยิ่งหยดนำมีขนาดใหญ่เท่าไรยิ่งทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนมากเท่านั้น น้ำหยดขนาดใหญ่มากสามารถสร้างพลังงานได้ถึง 12 มิลลิวัตต์ และผลิตอย่างน้อย 1 ไมโครวัตต์อย่างต่อเนื่อง
แม้ได้กระแสไฟฟ้าเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับพลังงานจากแสงอาทิตย์แต่ระบบผลิตไฟฟ้าจากน้ำฝนสามารถนำไปใช้ในสถานที่แดดน้อย หรือผสมผสานกับเทคโนโลยีหมุนเวียนรูปแบบอื่นเพื่อสร้างแหล่งพลังงาน วิศวกรหัวหน้าทีมวิจัยกล่าว
อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมเครื่องกลผู้อำนวยการศูนย์โครงสร้างและระบบวัสดุอัจฉริยะในเวอร์จิเนียเทค มองว่า งานวิจัยนี้ไม่กล่าวถึงระบบวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า ซึ่งจำเป็นต้องรู้ก่อนว่าพลังงานที่เกิดจากแรงกระทบของน้ำฝนเมื่อเปลี่ยนไปเป็นพลังงานที่ใช้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิสก์แล้วมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน
ข้อมูลจาก คม ชัด ลึก
คลังบทความของบล็อก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น